การนำความรู้เรื่องการนำความร้อนไปใช้ประโยชน์
1. ภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มเช่น
ตัวกระทะ หรือ หม้อหุงต้ม ที่ต้องการให้ความร้อนส่งผ่านไปยังอาหารที่ปรุงได้รวดเร็ว
จะทำด้วยโลหะ สเตนเลสหรืออลูมิเนียมแต่ส่วนด้ามจับภาชนะหรือหูหิ้วจะเป็นวัสดุประเภทไม้หรือพลาสติก ซึ่งเป็นฉนวนความร้อน
2. ภาชนะที่ใช้สำหรับเก็บอาหารที่ปรุงแล้วต้องเป็นภาชนะที่เป็นฉนวนความร้อน เพื่อให้สามารถเก็บความร้อนไว้ได้นาน เช่น
พลาสติก แก้ว และโฟม
เป็นต้น
3. ในฤดูหนาวควรจะสวมเสื้อผ้าหรือห่มผ้าที่หนา
ๆ ที่ทำด้วยขนสัตว์ หรือสวมเสื้อ
หลาย ๆ ตัว
อากาศที่แทรกอยู่ระหว่างขนสัตว์และเสื้อผ้าแต่ละชั้น เป็นตัวนำความร้อนที่ไม่ดี
ทำให้การถ่ายโอนความร้อนจากร่างกายออกสู่ภายนอกเป็นไปได้ยาก จึงทำให้ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลา
4. พื้นของเตารีดจะทำด้วยโลหะ
ที่จะนำความร้อนไปสู่ผ้าที่ต้องการรีด
แต่มือจับเตารีดจะทำด้วยพลาสติกซึ่งเป็นฉนวนความร้อน
5.
ตัวกระติกน้ำแข็งนิยมทำด้วยพลาสติก
เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกไม่ให้ผ่านเข้าไปภายใน อาหารและเครื่องดื่มในกระติกจึงเย็นและสดอยู่เสมอ
6.
กล่องบรรจุอาหารนิยมใช้สไทโรโฟมซึ่งเป็นฉนวนความร้อน
ช่วยป้องกันอาหารที่เก็บรักษาไม่ให้สูญเสียความร้อนไปหรือป้องกันไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้าไปข้างในได้
กรณีที่ต้องการเก็บรักษาอาหารให้เย็น
7. ที่รองอุปกรณ์ปรุงอาหารภายในครัวจะทำด้วยไม้คอร์ก
เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นโต๊ะเสียหาย เมื่อนำอุปกรณ์ปรุงอาหารที่ร้อน ๆ มาวางบนโต๊ะ
8. ถุงมือที่จับภาชนะหุงต้มอาหารจะมีช่องหรือบริเวณที่ใช้เก็บกักอากาศ
เพื่อให้อากาศเป็นตัวกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้าสู่มือ ขณะจับจาน กระทะ
หรือภาชนะอื่น ๆที่ร้อนอยู่
9. ถ้าข้อมือหรือข้อเท้าเกิดอาการเคล็ด
ขัดยอก ให้ใช้ของเย็น ๆ ประคบตรงบริเวณที่เกิดอาการเพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการนำความร้อนออกจากบริเวณร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บ
ซึ่งจะช่วยลดการไหลเวียนของเลือด ไม่ให้เกิดอาการปวดบวมมากขึ้นได้
การนำความรู้เรื่องการพาความร้อนไปใช้ประโยชน์
1. ชาวประมงใช้ประโยชน์จากลมบกลมทะเล
โดยการพาความร้อน
ทำให้เกิดกระแสลมในบริเวณต่าง ๆ
ทั้งนี้เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศในบริเวณ
2 แห่งความแตกต่างกันจึงทำให้อากาศเย็นเคลื่อนเข้าไปแทนที่อากาศร้อน ตัวอย่างเช่น
การเกิดลมบก ลมทะเล โดยลมบกและลมทะเลเกิดจากการพาความร้อนของอากาศซึ่งในเวลากลางวันพื้นดินดูดซับความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นน้ำอากาศเหนือพื้นดินมีความหนาแน่นน้อย จึงลอยตัวขึ้น
อากาศเหนือพื้นน้ำที่เย็นกว่าจะพัดเข้ามาแทนที่ เกิดการหมุนเวียนของอากาศ คือ
มีลมพัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง
เรียกว่า ลมทะเล ซึ่งชาวประมงใช้ประโยชน์ในการนำเรือประมงที่ออกหาปลาในเวลากลางคืนกลับเข้าฝั่ง
พอถึงเวลากลางคืนพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ พื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นดิน ดังนั้นอากาศบริเวณเหนือพื้นน้ำซึ่งมี ความหนาแน่นน้อยกว่าจะลอยตัวสูงขึ้น
อากาศที่เย็นกว่าเหนือพื้นดินจะเคลื่อนมาแทนที่เกิดเป็นลมพัดจากพื้นดินออกสู่ทะเล เรียกว่า
ลมบกซึ่งชาวประมงใช้ประโยชน์ในการนำเรือประมงออกหาปลาในเวลากลางคืน
2. ใช้ในการประดิษฐ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง
ๆ เช่น กาต้มน้ำร้อน เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น
เครื่องปรับอากาศ
ตารางแสดงความแตกต่างระหว่างการนำความร้อนและการพาความร้อน
การนำความร้อน
|
การพาความร้อน
|
1. ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
|
1.ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสารที่มีสถานะเป็นของไหล
( ของเหลวและแก๊ส
)
|
2. ความร้อนสามารถไหลเวียนไปในทิศทางใด ๆ
ก็ได้
|
2. ความร้อนไหลขึ้นไปสู่เบื้องบน
|
3. พลังงานความร้อนจะส่งผ่านโมเลกุลของสารที่มี
สถานะเป็นของแข็ง
โดยที่โมเลกุลของสารนั้นไม่
เคลื่อนที่
|
3. ของไหล (
ตัวกลางที่มีอุณหภูมิสูง ) จะเคลื่อนที่อย่าง
อิสระ และนำพลังงานติดตัวอนุภาคของของไหล
ไปยังที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
|
การนำความรู้เรื่องการแผ่รังสีความร้อนไปใช้ประโยชน์
1. การใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยด์ (aluminium foil) ห่ออาหารเนื่องจากแผ่นอะลูมิเนียมฟอยด์มีสีเงินและเป็นมันซึ่งสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนได้ช้า
จึงทำให้อาหารที่อยู่ภายในร้อนอยู่ได้นานกว่าปกติ
2.
ภาชนะบรรจุน้ำร้อนเช่น กระติกน้ำร้อน
ควรจะมีสีอ่อน ๆ หรือเป็นมันวาว
เพราะจะสามารถเก็บความร้อนได้ดีกว่าภาชนะที่มีสีดำ เนื่องจากวัตถุที่มีสีเข้มจะแผ่
รังสีความร้อนได้ดีกว่าวัตถุที่มีสีอ่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น